วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรคกาบใบแห้ง (Sheath blight Disease)

พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง ภาคเหนือ และ ภาคใต้
สาเหตุ เชื้อรา Rhizoctonia solani (Thanatephorus cucumeris (Frank) Donk)
อาการ เริ่มพบโรคในระยะแตกกอ จนถึงระยะใกล้เก็บเกี่ยว ยิ่งต้นข้าวมีการแตกกอมากเท่าใด ต้นข้าวก็จะเบียดเสียดกันมากขึ้น โรคก็จะเป็นรุนแรง ลักษณะแผลสีเขียวปนเทา ขนาดประมาณ 1-4 x 2-10 มิลลิเมตร ปรากฏตามกาบใบ ตรงบริเวณใกล้ระดับน้ำ แผลจะลุกลามขยายใหญ่ขึ้นจนมีขนาดไม่จำกัดและลุกลามขยายขึ้นถึงใบข้าว ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอ แผลสามารถลุกลามถึงใบธงและกาบหุ้มรวงข้าว ทำให้ใบและกาบใบเหี่ยวแห้ง ผลผลิตจะลดลงอย่างมากมาย


การแพร่ระบาด เชื้อราสามารถสร้างเม็ดขยายพันธุ์ อยู่ได้นานในตอซังหรือวัชพืชในนาตามดินนา และมีชีวิตข้ามฤดูหมุนเวียนทำลายข้าวได้ตลอดฤดูการทำนา

จำหน่ายนาโนซิงค์ออกไซด์ ราคาทุน เพื่อเกษตรกร
ใช้สำหรับ การปลูกมันสำปะหลัง แช่ท่อนพันธุ์
และฉีดพ่นเร่งการเจริญเติบโต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี
นาข้าว ฉีดพ่นเพื่อป้องกันกำจัดโรคต่างๆ ดังนี้
โรคไหม้  โรคเมล็ดด่าง   โรคกาบใบแห้ง
โรคใบจดสีน้ำตาล
  โรคกาบใบเน่า
โรคถอดฝักดาบ  โรคใบวงสีน้ำตาล
โรคใบขีดสีน้ำตาล
  โรคขอบใบแห้ง
โรคใบขีดโปร่งแสง  โรคใบแถบแดง

โทร 089-2726540    และ 087-8436036

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น