วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

ในบางเวลา

เคยได้ลองหาว่ามีสักคนไหม
มีใครคนไหนที่ห่วงฉัน
คอยและมองหาหนึ่งคนในความฝัน
แต่ฉันยังคงเดินเดียวดาย.........
กลัวความผิดหวัง ปิดบังความจริงไว้
กลัวมันทำร้ายความผูกพันธ์........

บ่อยเหลือเกินที่ฉันไม่เข้าใจกับเรื่องง่าย
เช่นเรื่องของตัวเอง
บ่อยครั้งเหลือเกินที่อยากตามใจตัวเองบ้าง
เหนื่อยเหลือเกิน กับเรื่องราวที่มากมาย
บางทีการอยู่คนเดียว คือคำตอบที่ดีที่สุด
คนเดี๋ยวไม่เหงาเท่าสามคน
สองคนไม่เท่าสองคน
คณิตศาสตร์คงหาคำตอบไม่ได้ถ้า
1+1ไม่เท่ากับสอง
2 มีค่าไม่เท่ากับ 2
3 มีค่าน้อยกว่า 1
นี่มันเป็นจริงในความรู้สึก
มันยากที่จะหาทฤษฎีไหนๆมาอธิบาย
ต่อไปนี้จะเป็นอย่างไรไม่รู้
ทุกสิ่งรอบข้างมันคุ้น ชิน
ไม่ชินกับ สิ่งที่เกิดตอนนี้
ไม่เข้าใจในเรื่องราว
เมื่อรู้มากกว่า หนึ่งคน เท่ากับโลกรู้
โลกหมุนเร็วเหลือเกิน
ฉันคิดว่าต้องเหนื่อยกว่าเดินที่ต้องเดินให้ทัน
...............................................................

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรคยางพารา

โรคราแป้ง (Powdery mildew)

สาเหตุ                 เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ      ใบอ่อนร่วง ใบที่ไม่ร่วง แผ่นใบจะมีแผลขนาดไม่แน่นอนมีปุย เชื้อราสีขาวเทาปกคลุมอยู่ ต่อมาแผลจะเป็นรอยด่าง สีเหลืองซีดและกลายเป็นสีน้ำตาล
                          ดอกยางมีปุย เชื้อราปกคลุมก่อนที่จะดำ แล้วร่วง
การแพร่ระบาด       ระบาดมากในพื้นที่ที่สภาพแวดล้อมกลางวันร้อน กลางคืนเย็นและชื้น ตอนเช้ามีหมอก พบในช่วงที่ต้นยางผลิใบใหม่

โรคใบจุดนูน (Colletotrichum leaf spot)
สาเหตุ                เกิดจากเชื้อรา  Colletotrichum  gloeosporiodes  (Penz.) Sacc.
ลักษณะอาการ 
   ใบอ่อนที่ถูกเชื้อเข้าทำลาย  ปลายใบจะบิดงอ  เหี่ยวเน่าดำและหลุดล่วง  ในระยะใบเพสลาด  ใบบางส่วนอาจบิดงอและ  พบจุดแผลสีน้ำตาล  ขอบแผลสีเหลือง 
                         ขนาดประมาณ 1-2  มม.  เมื่อใบมีอายุมากขึ้น  เนื้อตรงกลางแผลอาจทะลุเป็นรู  ถ้าระบาดรุนแรงอาจพบแผลบนกิ่งอ่อนหรือยอดอ่อน 
                         และทำให้เกิดอาการตายจากยอดได้
การแพร่ระบาด      ระบาดรุนแรงกับยางที่แตกใบอ่อน  ในช่วงที่ฝนตกชุก  ความชื้นสูง  เชื้อแพร่ระบาดโดยน้ำฝน  ลมและแมลง
พืชอาศัย             ส้ม  กล้วย  มะละกอ  ชา  กาแฟ  โกโก้  อาโวกาโด

โรคใบจุดก้างปลา (Corynespora leaf )
สาเหตุ                เกิดจากเชื้อรา  Corynespora  cassiicola (Burk. & Curt.) Wei.
ลักษณะอาการ 
   ใบอ่อนแสดงอาการเป็นแผลจุดกลม  ขอบแผลสีน้ำตาลดำ  กลางแผลสีซีดหรือเทา  ถ้ารุนแรงใบจะบิดงอและร่วง  ระยะใบ  เพสลาดแผลจะกลมทึบสีน้ำตาลหรือดำ 
                        ขอบแผลสีเหลืองและขยายลุกลามเข้าไปตามเส้นใบ  ทำให้แผลมีลักษณะคล้ายก้างปลา  เนื้อเยื่อบริเวณรอยแผลมีสีเหลืองถึงน้ำตาลและใบร่วงในที่สุด 
                        ถ้าเชื้อเข้าทำลายส่วนของก้านใบ  กิ่งแขนงและลำต้นที่ เป็นสีเขียว  จะเป็นแผลสีดำมีลักษณะยาวรี  เนื้อเยื่อตรงกลางแผลบุ๋มลง  ถ้าอากาศเหมาะสมจะขยายขนาดและ
                        ลุกลาม  ทำให้กิ่งหรือยอดที่เป็นโรคแห้งตาย

การแพร่ระบาด
     เชื้อราแพร่ระบาดโดยลมและฝน  โรคระบาดรุนแรงในสภาพอากาศร้อนและมีความชื้นสูง
พืชอาศัย
            มีมากกว่า  80  ชนิด  ยกตัวอย่างเช่น  งา  ถั่วเหลือง  ถั่วเขียว  ฝ้าย  ยาสูบ  มะละกอ  แตงโม  มะเขือเทศ  ผักกาดหอม  สะระแหน่  ฟักเขียว  หญ้ายาง 
                        และพืชคลุมตระกูลถั่ว


โรคใบจุดตานก (Bird's eye spot)
สาเหตุ                  เกิดจากเชื้อรา Drechsiera (Helminthosporium) heveae (Petch)  M.B. Ellis
ลั
กษณะอาการ 
     เชื้อเข้าทำลายระยะใบอ่อนมาก  แผลหงิกงอเน่าดำและร่วง  เหลือแต่ยอดที่บวมโต  ใบยางอายุมากจะปรากฏจุดค่อน ข้างกลม 
                          ขอบแผลสีน้ำตาลล้อมรอบซึ่งโปร่งแสง  ถ้าเชื้อเข้าทำลายระยะใบแก่จะเป็นรอยจุดสีน้ำตาลเท่านั้น

การแพร่ระบาด
       ระบาดรุนแรงในแปลงกล้ายางที่ปลูกในดินทรายหรือดินที่อุดมสมบูรณ์ต่ำ  แพร่ระบาดโดยลม  ฝนหรือการสัมผัส
โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทร่า (Phytopthora leaf fall)
สาเหตุ                เกิดจากเชื้อรา  Phytophthora  botryosa  chee, P. palmivora (Butl.) Butl., P.nicotianae  Van  Breda  de  Haan  var. parasitica(Dastur) Waterhouse
ลักษณะอาการ 
   ก้านใบเป็นรอยช้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำตามความยาวของก้านใบ  แผลบริเวณทางเข้าของเชื้อมีหยดน้ำยางเล็กๆ เกาะติดอยู่ เมื่อสะบัดใบเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันที 
                        ต่างจากการร่วงตามธรรมชาติ  ซึ่งเมื่อสะบัดใบย่อยจะไม่ร่วง  บางครั้งแผ่นใบอาจ  เป็นแผลสีน้ำตาลเข้มถึงดำ  ช้ำน้ำ  ขนาดแผลไม่แน่นอน 
                        หากเข้าทำลายฝักยางจะทำให้เน่า  อาจพบเชื้อราสีขาวเจริญปกคลุม  ฝักไม่แตกและไม่ร่วงหล่นตามธรรมชาติ  กลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อต่อไป

การแพร่ระบาด
     ระบาดรุโดยน้ำฝน  ลม  ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันฝนตก  เชื้อต้องการน้ำเพื่อการขยายพันธุ์  จึงระบาดได้ดีในสภาพอากาศเย็น  ฝนตกชุก 
                        ความชื้นสูงอย่างน้อย  4  วัน  โดยมีแสงแดดน้อยกว่า  3  ชั่วโมงต่อวัน

พืชอาศัย
            ส้ม  ทุเรียน  พริกไทย  ปาล์ม  โกโก้
โรคเส้นดำ (Black stripe)
สาเหตุ              เกิดจากเชื้อรา  Phytophthora  botryosa  chee, P. palmivora (Butl.) Butl.ลักษณะอาการ   เหนือรอยกรีดเป็นรอยช้ำ ต่อมาเป็นรอยบุ๋มสีดำหรือสีน้ำตาลดำตามแนวยาวของลำต้น  เมื่อเฉือนเปลือกบริเวณรอยบุ๋มสีดำ จะเห็นลายเส้นสีดำบนเนื้อไม้ 
                      และอาจลุกลามลงใต้รอยกรีด  ถ้าอาการรุนแรง  เปลือกบริเวณที่เป็นโรคปริเน่า  มีน้ำยางไหล  เปลือกเน่าหลุดออกมา  ถ้าเชื้อเข้าทำลายไม่รุนแรง 
                      เปลือกงอกใหม่จะเป็นปุ่มปม
การแพร่ระบาด
   เชื้อบนฝักและใบที่เป็นโรคถูกชะล้างโดยน้ำฝนลงมาที่หน้ากรีด  พบระบาดรุนแรงเมื่อกรีดยางติดต่อกันในฤดูฝนโดยไม่มี การป้องกันรักษาหน้ากรีด 
                      โดยเฉพาะเมื่อความชื้นสูงกว่า  90%  หน้ากรีดจะเปียกอยู่ตลอดเวลา  เหมาะต่อการขยายพันธุ์ของเชื้อ
พืชอาศัย
          เชื้อรา  P.palmivora  สามารถเข้าทำลายพืชอื่นได้หลายชนิด  เช่น  มะละกอ  แตงโม  ส้ม  ทุเรียน  พริกไทย  โกโก้  มะพร้าว  ยาสูบ  ส่วนเชื้อรา  P.botryosa 
                      สามารถเข้าทำลาย  ทุเรียน  ส้ม  และกล้วยไม้ได้



ใช้สารนาโนซิงค์ออกไซด์กำจัดเชื้อโรคที่เกิดจากเชื้อรา และเเบคทีเรีย
รับรองว่าของแท้ราคาทุน เพื่อเกษตรกร
ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ทุกชนิด
สนใจติดต่อ อ.กฤษณะ และอ.อรวรรณ
โทร 089-2726540    และ 087-8436036


โรคถอดฝักดาบ (Bakanae Disease)

โรคถอดฝักดาบ (Bakanae Disease)
พบมาก นาน้ำฝน ภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สาเหตุ เชื้อรา Fusarium fujikuroi Nirenberg (Fusarium moniliforme J. Sheld)
อาการ พบโรคในระยะกล้า ต้นกล้าจะแห้งตายหลังจากปลูกได้ไม่เกิน 7 วัน แต่มักพบกับข้าวอายุเกิน 15 วัน ระยะเริ่มแตกกอ ข้าวเป็นโรคจะต้นผอมสูงเด่นกว่ากล้าข้าวโดยทั่ว ๆ ไป
ต้นข้าวผอมมีสีเขียวอ่อนซีด มักย่างปล้อง บางกรณีข้าวจะไม่ย่างปล้อง แต่รากจะเน่าช้ำเวลาถอนมักจะขาดตรงบริเวณโคนต้น ถ้าเป็นรุนแรงกล้าข้าวจะตาย หากไม่รุนแรงอาการจะแสดงหลังจากย้ายไปปักดำได้ 15-45 วัน โดยที่ต้นเป็นโรคจะสูงกว่าข้าวปกติ ใบมีสีเขียวซีด เกิดรากแขนงที่ข้อลำต้นตรงระดับน้ำ บางครั้งพบกลุ่มเส้นใยสีชมพูตรงบริเวณข้อที่ย่างปล้องขึ้นมา ต้นข้าวที่เป็นโรคมักจะตายและมีน้อยมากที่อยู่รอดจนถึงออกรวง
การแพร่ระบาด เชื้อราจะติดไปกับเมล็ด สามารถมีชีวิตในซากต้นข้าวและในดินได้เป็นเวลาหลายเดือน พบว่า หญ้าชันกาด เป็นพืชอาศัยของโรค
จำหน่ายนาโนซิงค์ออกไซด์ ราคาทุน เพื่อเกษตรกร
ใช้สำหรับ การปลูกมันสำปะหลัง แช่ท่อนพันธุ์
และฉีดพ่นเร่งการเจริญเติบโต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี
นาข้าว ฉีดพ่นเพื่อป้องกันกำจัดโรคต่างๆ ดังนี้
โรคไหม้  โรคเมล็ดด่าง   โรคกาบใบแห้ง
โรคใบจดสีน้ำตาล
  โรคกาบใบเน่า
โรคถอดฝักดาบ  โรคใบวงสีน้ำตาล
โรคใบขีดสีน้ำตาล
  โรคขอบใบแห้ง
โรคใบขีดโปร่งแสง  โรคใบแถบแดง

โทร 089-2726540    และ 087-8436036

โรคกาบใบเน่า (Sheath Rot Disease)

โรคกาบใบเน่า (Sheath Rot Disease)
พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง
สาเหตุ เชื้อรา Sarocladium oryzae Sawada
อาการ ข้าวแสดงอาการในระยะตั้งท้องโดยเกิดแผลสีน้ำตาลดำบนกาบห่อรวง ขนาดแผลประมาณ 2-7 x 4-18 มิลลิเมตร ตรงกลางแผลมีกลุ่มเส้นใยสีขาวอมชมพู แผลนี้จะขยายติดต่อกันทำให้บริเวณกาบหุ้มรวงมีสีน้ำตาลดำและรวงข้าวส่วนใหญ่โผล่ไม่พ้นกาบหุ้มรวง หรือโผล่ได้บางส่วน ทำให้เมล็ดลีบและมีสีดำ
การแพร่ระบาด เชื้อรานี้ติดอยู่บนเมล็ดได้นาน นอกจากนี้ พบว่า “ไรขาว” ซึ่งอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงต้นข้าวในบริเวณกาบใบด้านใน สามารถเป็นพาหะช่วยทำให้โรคแพร่ระบาดได้รุนแรง และกว้างขวางยิ่งขึ้น


จำหน่ายนาโนซิงค์ออกไซด์ ราคาทุน เพื่อเกษตรกร
ใช้สำหรับ การปลูกมันสำปะหลัง แช่ท่อนพันธุ์
และฉีดพ่นเร่งการเจริญเติบโต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี
นาข้าว ฉีดพ่นเพื่อป้องกันกำจัดโรคต่างๆ ดังนี้
โรคไหม้  โรคเมล็ดด่าง   โรคกาบใบแห้ง
โรคใบจดสีน้ำตาล
  โรคกาบใบเน่า
โรคถอดฝักดาบ  โรคใบวงสีน้ำตาล
โรคใบขีดสีน้ำตาล
  โรคขอบใบแห้ง
โรคใบขีดโปร่งแสง  โรคใบแถบแดง

โทร 089-2726540    และ 087-8436036

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรคใบจุดสีน้ำตาล (Brown Spot Disease)

พบมาก ทั้ง นาน้ำฝน และ นาชลประทาน ใน ภาคกลาง ภาคเหนือ
ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และ ภาคใต้
สาเหตุ เชื้อรา Bipolaris oryzae (Helminthosporium oryzae Breda de Haan.)

อาการ แผลที่ใบข้าว พบมากในระยะแตกกอมีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล รูปกลมหรือรูปไข่ ขอบนอกสุดของแผลมีสีเหลือง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 มิลลิเมตร แผลที่มีการพัฒนาเต็มที่ขนาดประมาณ 1-2 x 4-10 มิลลิเมตร บางครั้งพบแผลไม่เป็นวงกลมหรือรูปไข่ แต่จะเป็นรอยเปื้อนคล้ายสนิมกระจัดกระจายทั่วไปบนใบข้าว แผลยังสามารถเกิดบนเมล็ดข้าวเปลือก(โรคเมล็ดด่าง) บางแผลมีขนาดเล็ก บางแผลอาจใหญ่คลุมเมล็ดข้าวเปลือก ทำให้เมล็ดข้าวเปลือกสกปรก เสื่อมคุณภาพ เมื่อนำไปสีข้าวสารจะหักง่าย
การแพร่ระบาด เกิดจากสปอร์ของเชื้อราปลิวไปตามลม และติดไปกับเมล็ด

จำหน่ายนาโนซิงค์ออกไซด์ ราคาทุน เพื่อเกษตรกร
ใช้สำหรับ การปลูกมันสำปะหลัง แช่ท่อนพันธุ์
และฉีดพ่นเร่งการเจริญเติบโต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี
นาข้าว ฉีดพ่นเพื่อป้องกันกำจัดโรคต่างๆ ดังนี้
โรคไหม้  โรคเมล็ดด่าง   โรคกาบใบแห้ง
โรคใบจดสีน้ำตาล
  โรคกาบใบเน่า
โรคถอดฝักดาบ  โรคใบวงสีน้ำตาล
โรคใบขีดสีน้ำตาล
  โรคขอบใบแห้ง
โรคใบขีดโปร่งแสง  โรคใบแถบแดง

โทร 089-2726540    และ 087-8436036

โรคกาบใบแห้ง (Sheath blight Disease)

พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง ภาคเหนือ และ ภาคใต้
สาเหตุ เชื้อรา Rhizoctonia solani (Thanatephorus cucumeris (Frank) Donk)
อาการ เริ่มพบโรคในระยะแตกกอ จนถึงระยะใกล้เก็บเกี่ยว ยิ่งต้นข้าวมีการแตกกอมากเท่าใด ต้นข้าวก็จะเบียดเสียดกันมากขึ้น โรคก็จะเป็นรุนแรง ลักษณะแผลสีเขียวปนเทา ขนาดประมาณ 1-4 x 2-10 มิลลิเมตร ปรากฏตามกาบใบ ตรงบริเวณใกล้ระดับน้ำ แผลจะลุกลามขยายใหญ่ขึ้นจนมีขนาดไม่จำกัดและลุกลามขยายขึ้นถึงใบข้าว ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอ แผลสามารถลุกลามถึงใบธงและกาบหุ้มรวงข้าว ทำให้ใบและกาบใบเหี่ยวแห้ง ผลผลิตจะลดลงอย่างมากมาย


การแพร่ระบาด เชื้อราสามารถสร้างเม็ดขยายพันธุ์ อยู่ได้นานในตอซังหรือวัชพืชในนาตามดินนา และมีชีวิตข้ามฤดูหมุนเวียนทำลายข้าวได้ตลอดฤดูการทำนา

จำหน่ายนาโนซิงค์ออกไซด์ ราคาทุน เพื่อเกษตรกร
ใช้สำหรับ การปลูกมันสำปะหลัง แช่ท่อนพันธุ์
และฉีดพ่นเร่งการเจริญเติบโต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี
นาข้าว ฉีดพ่นเพื่อป้องกันกำจัดโรคต่างๆ ดังนี้
โรคไหม้  โรคเมล็ดด่าง   โรคกาบใบแห้ง
โรคใบจดสีน้ำตาล
  โรคกาบใบเน่า
โรคถอดฝักดาบ  โรคใบวงสีน้ำตาล
โรคใบขีดสีน้ำตาล
  โรคขอบใบแห้ง
โรคใบขีดโปร่งแสง  โรคใบแถบแดง

โทร 089-2726540    และ 087-8436036

โรคไหม้ (Rice Blast Disease)

พบมาก ในนาน้ำฝน ข้าวพันธุ์พื้นเมืองไวต่อช่วงแสง พบส่วนใหญ่ใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และ ภาคใต้
สาเหตุ เชื้อรา Pyricularia grisea Sacc.


อาการ
ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้
ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ
ระยะออกรวง (โรคเน่าคอรวง) ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก
การแพร่ระบาด พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยสูงและมีสภาพแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน น้ำค้างยาวนานถึงตอนสายราว 9 โมง ถ้าอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 22-25 oC ลมแรงจะช่วยให้โรคแพร่กระจายได้ดี
จำหน่ายนาโนซิงค์ออกไซด์ ราคาทุน เพื่อเกษตรกร
ใช้สำหรับ การปลูกมันสำปะหลัง แช่ท่อนพันธุ์
และฉีดพ่นเร่งการเจริญเติบโต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี
นาข้าว ฉีดพ่นเพื่อป้องกันกำจัดโรคต่างๆ ดังนี้
โรคไหม้  โรคเมล็ดด่าง   โรคกาบใบแห้ง
โรคใบจดสีน้ำตาล
  โรคกาบใบเน่า
โรคถอดฝักดาบ  โรคใบวงสีน้ำตาล
โรคใบขีดสีน้ำตาล
  โรคขอบใบแห้ง
โรคใบขีดโปร่งแสง  โรคใบแถบแดง
สนใจติดต่อ อ.กฤษณะ และอ.อรวรรณ หัวหน้าโครงการวิจัย
โทร 089-2726540    และ 087-8436036

การสั่งซื้อ

ปรับปรุงราคาครับ

ปรับปรุงและเริ่มใช้เมื่อ 21 กรกฎาคม 2557 


นาโนซิงค์ออกไซด์กับการปลูกข้าว

สจล.- เชื่อม “นาโน” กับ “นาข้าว” นักวิจัย สจล.พบวาอนุภาคนาโนซิงออกไซด์ช่วยพืชเจริญเติบโตได้ดี จึงหนึ่นใช้ในการเกษตร ล่าสุดชาวนาที่กำแพงเพชรมทดลองฉีดพ่นในนาข้าว ได้ผลผลิตเพิ่มถึง 20%
  
       ทีมนักวิจัยวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) พัฒนา อนุภาคนาโนซิงออกไซด์ (ZnO) เพื่อแก้ปัญหาในการเพาะพันธุ์ข้าว โดยอนุภาคดังกล่าวช่วยการเจริญเติบโตของพืช อีกทั้งพืชที่ได้รับซิงออกไซด์นั้นจะต้านทานโรคได้ดีกว่าพืชที่ไม่ได้รับ และปริมาณผลผลิตที่ได้รับหลังการเก็บเกี่ยวได้สูงกว่าประมาณ 3-5 เท่าตัว นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติที่ช่วยในการลดปริมาณการใช้ปุ๋ยในธาตุอาหารหลัก คือ NPK ซึ่ง8าดว่าจะช่วยเพิ่มผลผลิต และคุณภาพของข้าวไทยได้
  
       ล่าสุด มีการทดลองใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ในการปลูกข้าวแบบหว่านตม ณ หมู่บ้านข้าวนาโนเทคโนโลยีนาบ่อคำ พระจอมเกล้าลาดกระบัง ต.นาบ่อคำ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ซึ่ง รศ.ดร. จิติ หนูแก้ว คณบดีวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง กล่าวว่า เมื่อปี 2554 วิทยาลัยฯ ได้จัดอบรมความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยีสู่ท้องถิ่น โดยเริ่มสอนตั้งแต่การให้ความรู้ไปจนถึงวิธีการเพาะปลูกพืชผลทางเกษตรกรรมอย่างมีคุณภาพ ซึ่งชุมชนนาบ่อคำได้แสดงความพร้อมและศักยภาพในการเพาะปลูกมันสำปะหลังด้วยนาโนเทคโนโลยี
  
       มาถึงปี 2555 ทางวิทยาลัยฯ จึงได้สนับสนุนให้ชุมชนนาบ่อคำ เป็นชุมชนต้นแบบด้านนาโนเทคโนโลยีสำหรับการเพาะปลูกข้าว เนื่องจากข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศและกำลังประสบปัญหาการแข่งขันในตลาดอย่างรุนแรง จึงเป็นที่มาของหมู่บ้านข้าวนาโนเทคโนโลยีนาบ่อคำ พระจอมเกล้าลาดกระบัง
  
       "ที่ผ่านมานั้นชุมชนในตำบลนาบ่อคำเพาะปลูกข้าวเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการปลูกกับผลผลิตที่ควรจะได้นั้น พบว่ายังเป็นตัวเลขที่ต่ำมาก โดยเกณฑ์ที่ควรจะได้ผลผลิตนั้น อยู่ที่ประมาณ 650-774 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ในความเป็นจริง ได้ผลผลิตเพียง 400 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากการปลูกที่ขาดประสิทธิภาพ อย่างการเพาะกล้า การเติบโตไม่สม่ำเสมอ การใช้ปุ๋ยเคมีที่มีต้นทุนสูง ซึ่งหลายพื้นที่ในไทยก็เกิดปัญหาเช่นเดียวกันนี้ ซึ่งการใช้อนุภาคนาโนซิงออกไซด์มาช่วยจะลดปัญหาเหล่านี้ได้" รศ.ดร.จิติกล่าว
  
       รศ.ดร. จิติ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากทีมนักวิจัยค้นพบประสิทธิภาพของอนุภาคนาโนซิงออกไซด์ที่มีต่อพืช จึงได้นำมาใช้เพาะปลูกข้าว ที่หมู่บ้านข้าวนาโนเทคโนโลยีนาบ่อคำ โดยเริ่มจากการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ต้องการนำไปหว่านในนา นำไปแช่ด้วยนาโนซิงค์ออกไซด์ผสมน้ำเป็นเวลา 1 วัน แล้วนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผ่านการแช่น้ำนาโนฯไปหว่านลงในแปลง เมื่อลองวัดการเจริญเติบโตทุกๆ 7 วัน พบว่า มีอัตราการงอกคิดเป็น 93% และพบว่าเมื่อหว่านจนครบ 6 สัปดาห์ ต้นข้าวที่แช่ด้วยอนุภาคนาโนซิงออกไซด์สูง 85.17 เซนติเมตร ซึ่งสูงกว่าข้าวที่ไม่ได้แช่เกือบ 10 เซนติเมตร และข้าวแช่อนุภาคนาโนซิงออกไซด์ให้ผลผลิตสูงถึง 660 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าเดิมที่ให้ผลผลิตเพียง 548 กิโลกรัมต่อไร่
  
       "ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ สามารถเพิ่มผลผลิตของข้าวได้มากถึง 20 เปอร์เซ็นต์ สอดคล้องกับปริมาณความต้องการได้ โดยหลังจากที่มีการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของอนุภาคนาโนซิงออกไซด์ที่มีต่อการปลูกข้าว จึงทำให้มีพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการการเผยแพร่องค์ความรู้ของการนำนาโนซิงค์ออกไซด์มาใช้ในการปลูกข้าวแบบหว่านตมกับวิทยาลัยนาโนฯ มากกว่า 100 พื้นที่ในปัจจุบัน" รศ.ดร.จิติกล่าว

สจล.- เชื่อม “นาโน” กับ “นาข้าว” นักวิจัย สจล.พบวาอนุภาคนาโนซิงออกไซด์ช่วยพืชเจริญเติบโตได้ดี จึงหนุนการใช้ในการเกษตร ล่าสุดชาวนาที่กำแพงเพชรมทดลองฉีดพ่นในนาข้าว ได้ผลผลิตเพิ่มถึง 20%
   
       ทีมนักวิจัยวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) พัฒนา อนุภาคนาโนซิงออกไซด์ (ZnO) เพื่อแก้ปัญหาในการเพาะพันธุ์ข้าว โดยอนุภาคดังกล่าวช่วยการเจริญเติบโตของพืช อีกทั้งพืชที่ได้รับซิงออกไซด์นั้นจะต้านทานโรคได้ดีกว่าพืชที่ไม่ได้รับ และปริมาณผลผลิตที่ได้รับหลังการเก็บเกี่ยวได้สูงกว่าประมาณ 3-5 เท่าตัว นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติที่ช่วยในการลดปริมาณการใช้ปุ๋ยในธาตุอาหารหลัก คือ NPK ซึ่ง8าดว่าจะช่วยเพิ่มผลผลิต และคุณภาพของข้าวไทยได้
   
       ล่าสุด มีการทดลองใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ในการปลูกข้าวแบบหว่านตม ณ หมู่บ้านข้าวนาโนเทคโนโลยีนาบ่อคำ พระจอมเกล้าลาดกระบัง ต.นาบ่อคำ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ซึ่ง รศ.ดร. จิติ หนูแก้ว คณบดีวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง กล่าวว่า เมื่อปี 2554 วิทยาลัยฯ ได้จัดอบรมความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยีสู่ท้องถิ่น โดยเริ่มสอนตั้งแต่การให้ความรู้ไปจนถึงวิธีการเพาะปลูกพืชผลทางเกษตรกรรมอย่างมีคุณภาพ ซึ่งชุมชนนาบ่อคำได้แสดงความพร้อมและศักยภาพในการเพาะปลูกมันสำปะหลังด้วยนาโนเทคโนโลยี
   
       มาถึงปี 2555 ทางวิทยาลัยฯ จึงได้สนับสนุนให้ชุมชนนาบ่อคำ เป็นชุมชนต้นแบบด้านนาโนเทคโนโลยีสำหรับการเพาะปลูกข้าว เนื่องจากข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศและกำลังประสบปัญหาการแข่งขันในตลาดอย่างรุนแรง จึงเป็นที่มาของหมู่บ้านข้าวนาโนเทคโนโลยีนาบ่อคำ พระจอมเกล้าลาดกระบัง
   
       "ที่ผ่านมานั้นชุมชนในตำบลนาบ่อคำเพาะปลูกข้าวเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการปลูกกับผลผลิตที่ควรจะได้นั้น พบว่ายังเป็นตัวเลขที่ต่ำมาก โดยเกณฑ์ที่ควรจะได้ผลผลิตนั้น อยู่ที่ประมาณ 650-774 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ในความเป็นจริง ได้ผลผลิตเพียง 400 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากการปลูกที่ขาดประสิทธิภาพ อย่างการเพาะกล้า การเติบโตไม่สม่ำเสมอ การใช้ปุ๋ยเคมีที่มีต้นทุนสูง ซึ่งหลายพื้นที่ในไทยก็เกิดปัญหาเช่นเดียวกันนี้ ซึ่งการใช้อนุภาคนาโนซิงออกไซด์มาช่วยจะลดปัญหาเหล่านี้ได้" รศ.ดร.จิติกล่าว  
       รศ.ดร. จิติ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากทีมนักวิจัยค้นพบประสิทธิภาพของอนุภาคนาโนซิงออกไซด์ที่มีต่อพืช จึงได้นำมาใช้เพาะปลูกข้าว ที่หมู่บ้านข้าวนาโนเทคโนโลยีนาบ่อคำ โดยเริ่มจากการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ต้องการนำไปหว่านในนา นำไปแช่ด้วยนาโนซิงค์ออกไซด์ผสมน้ำเป็นเวลา 1 วัน แล้วนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผ่านการแช่น้ำนาโนฯไปหว่านลงในแปลง เมื่อลองวัดการเจริญเติบโตทุกๆ 7 วัน พบว่า มีอัตราการงอกคิดเป็น 93% และพบว่าเมื่อหว่านจนครบ 6 สัปดาห์ ต้นข้าวที่แช่ด้วยอนุภาคนาโนซิงออกไซด์สูง 85.17 เซนติเมตร ซึ่งสูงกว่าข้าวที่ไม่ได้แช่เกือบ 10 เซนติเมตร และข้าวแช่อนุภาคนาโนซิงออกไซด์ให้ผลผลิตสูงถึง 660 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าเดิมที่ให้ผลผลิตเพียง 548 กิโลกรัมต่อไร่
สนใจติดต่อ อ.กฤษณะ และอ.อรวรรณ หัวหน้าโครงการวิจัย
โทร 089-2726540    และ 087-8436036

นาโนซิงค์ออกไซด์กับโรคข้าว

วิจัยนาโนซิงค์ออกไซด์


  ซิงค์ออกไซด์เป็นวัสดุในกลุ่มโลหะออกไซด์ที่มีการนำมาใช้งานในรูปแบบของวัสดุนาโน ตัวอย่างการใช้นาโนซิงค์ออกไซด์ ได้แก่ การใช้งานในกลุ่มของอิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์ตรวจจับก๊าซ ใช้สำหรับการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในทางทันตกรรม ใช้ในการบำบัดสิ่งแวดล้อมเนื่องจากมีสมบัติที่ดีในด้านการดูดซับแสง และสมบัติด้านการเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง นอกจากนี้ยังใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับคนโดยตรงคือเครื่องสำอางโดยเฉพาะอย่างยิ่งโลชั่นกันแดดที่เริ่มนิยมนำซิงค์ออกไซด์ขนาดนาโนมาใช้เป็นองค์ประกอบ เนื่องจากมีระดับความสามารถในการป้องกันรังสียูวีได้ในระดับเดียวกับอนุภาคซิงค์ออกไซด์ขนาดใหญ่กว่านาโน แต่ข้อได้เปรียบที่เห็นได้ชัดของโลชั่นกันแดดที่มีอนุภาคนาโนเป็นองค์ประกอบคือการส่งผ่านแสงได้ดีกว่า ทำให้ไม่ทิ้งร่องรอยให้เห็นเป็นสีขาวอย่างชัดเจนบนผิวเมื่อเทียบกับโลชั่นกันแดดที่ใช้อนุภาคขนาดใหญ่ จากเหตุที่ซิงค์ออกไซด์ได้รับความสนใจในการใช้ประโยชน์มากขึ้น ทำให้เกิดการผลิตในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งผลที่ตามมาคือการศึกษาด้านความเป็นพิษของนาโนซิงค์ออกไซด์ ในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อมหรือด้านความเป็นพิษต่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
            ตัวอย่างการศึกษาด้านความเป็นพิษของนาโนซิงค์ออกไซด์ต่อแบคทีเรียแกรมลบโดยใช้ E.coli เป็นตัวแทน ต่อแบคทีเรียแกรมบวกโดยใช้ S.aureus เป็นตัวแทน และต่อเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันของมนุษย์ในระดับเบื้องต้น (T cell) ผลการศึกษาโดยใช้นาโนซิงค์ออกไซด์ขนาดประมาณ 13 นาโนเมตร แสดงให้เห็นว่า นาโนซิงค์ออกไซด์สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของ E.coli ได้ที่ระดับความเข้มข้น ≥ 3.4 มิลลิโมล ในขณะที่การเจริญเติบโตของ S.aureus ถูกยับยั้งได้อย่างสมบูรณ์ที่ระดับความเข้มข้น ≥ 1 มิลลิโมล และโดยการใช้นาโนซิงค์ออกไซด์แบบเดียวกัน พบว่านาโนซิงค์ออกไซด์มีผลต่อ T cell ของมนุษย์เพียงเล็กน้อยที่ระดับความเข้มข้นเดียวกับที่เป็นพิษต่อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ โดยรวมแล้วผลการทดลองแสดงให้เห็นถึงความเป็นพิษที่แตกต่างกันระหว่างระบบของแบคทีเรียและ T cell ของมนุษย์ (1)
            ส่วนการศึกษาถึงระดับความเป็นพิษที่แตกต่างกันระหว่าง ZnO, CuO และ TiO2 ต่อแบคทีเรียและสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง เช่น กุ้ง หรือปู เนื่องจากสิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิด อยู่ในห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศน์จึงใช้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เป็นตัวแทนสำหรับการศึกษา ซึ่งผลจากการศึกษา พบว่าความเป็นพิษของโลหะออกไซด์ (ทั้งในระดับนาโนและขนาดใหญ่) ต่อแบคทีเรีย V.fisheri และต่อกุ้งจัดลำดับได้ดังต่อไปนี้ TiO2 < CuO < ZnO นอกจากนี้ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นอีกว่า อนุภาคโลหะออกไซด์ไม่จำเป็นต้องเข้าไปในเซลล์จึงจะเป็นสาเหตุของความเป็นพิษ แต่การสัมผัสกันระหว่างเซลล์กับอนุภาคนาโนก็ทำให้เกิดความเสียหายต่อเยื่อหุ้มเซลล์ได้ (2)


จำหน่ายนาโนซิงค์ออกไซด์ ราคาทุน เพื่อเกษตรกร
ใช้สำหรับ การปลูกมันสำปะหลัง แช่ท่อนพันธุ์
และฉีดพ่นเร่งการเจริญเติบโต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี
นาข้าว ฉีดพ่นเพื่อป้องกันกำจัดโรคต่างๆ ดังนี้
โรคไหม้  โรคเมล็ดด่าง   โรคกาบใบแห้ง
โรคใบจดสีน้ำตาล
  โรคกาบใบเน่า
โรคถอดฝักดาบ  โรคใบวงสีน้ำตาล
โรคใบขีดสีน้ำตาล
  โรคขอบใบแห้ง
โรคใบขีดโปร่งแสง  โรคใบแถบแดง

โทร 089-2726540    และ 087-8436036





คุณสมบัตินาโนซิงค์ออกไซด์


จำหน่ายนาโนซิงค์ออกไซด์ ราคาทุน เพื่อเกษตรกร
ใช้สำหรับ การปลูกมันสำปะหลัง แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก
และฉีดพ่นเร่งการเจริญเติบโต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี
นาข้าว ฉีดพ่นเพื่อป้องกันกำจัดโรคต่างๆ ดังนี้

โรคไหม้  โรคเมล็ดด่าง   โรคกาบใบแห้ง
โรคใบจดสีน้ำตาล
  โรคกาบใบเน่า
โรคถอดฝักดาบ  โรคใบวงสีน้ำตาล
โรคใบขีดสีน้ำตาล
  โรคขอบใบแห้ง
โรคใบขีดโปร่งแสง  โรคใบแถบแดง

โทร 089-2726540    และ 087-8436036



นาโนซิงค์ออกไซด์


จำหน่ายนาโนซิงค์ออกไซด์ ราคาทุน เพื่อเกษตรกร
ใช้สำหรับ การปลูกมันสำปะหลัง แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก
และฉีดพ่นเร่งการเจริญเติบโต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี
นาข้าว ฉีดพ่นเพื่อป้องกันกำจัดโรคต่างๆ ดังนี้

โรคไหม้  โรคเมล็ดด่าง   โรคกาบใบแห้ง
โรคใบจดสีน้ำตาล
  โรคกาบใบเน่า
โรคถอดฝักดาบ  โรคใบวงสีน้ำตาล
โรคใบขีดสีน้ำตาล
  โรคขอบใบแห้ง
โรคใบขีดโปร่งแสง  โรคใบแถบแดง

สนใจติดต่อ อ.กฤษณะ และอ.อรวรรณ
โทร 089-2726540    และ 087-8436036

ขายนาโนซิงค์ออกไซด์


จำหน่ายนาโนซิงค์ออกไซด์ ราคาทุน เพื่อเกษตรกร
ใช้สำหรับ  สวนมะนาว สวนส้ม แก้โรคแคงเกอร์  สแคปส้ม


การปลูกมันสำปะหลัง แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก
และฉีดพ่นเร่งการเจริญเติบโต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี

นาข้าว ฉีดพ่นเพื่อป้องกันกำจัดโรคต่างๆ ดังนี้

โรคไหม้  โรคเมล็ดด่าง   โรคกาบใบแห้ง
โรคใบจดสีน้ำตาล
  โรคกาบใบเน่า
โรคถอดฝักดาบ  โรคใบวงสีน้ำตาล
โรคใบขีดสีน้ำตาล
  โรคขอบใบแห้ง
โรคใบขีดโปร่งแสง  โรคใบแถบแดง
สนใจติดต่อ อ.กฤษณะ และอ.อรวรรณ
โทร 089-2726540    และ 087-8436036




วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

ชั่วฟ้าดินสลาย

ขึ้นชื่อว่า ครูมาลัย  ชูพินิจ
ไม่ว่าอะไรก็ตาม ที่ท่านได้เขียนขึ้นมา
เป็นงานที่ผมชอบมากและต้องติดตาม
ซึ่งรวมถึงหนังเรื่องนี้ด้วย ชั่วฟ้าดินสลาย
ซึ่งบ่งบอกถึงจังหวัดกำแพงเพชร ได้เป็นอย่างดี
ซึ่งทั้งเรื่องได้กล่าวถึงกำแพงเพชรไว้
ดังเรื่องย่อต่อไปนี้

ชั่วฟ้าดินสลาย
เป็นโศกนาฏกรรมรักของชายหนุ่ม-หญิงสาวคู่หนึ่ง
ที่เชื่อกันว่าจะรักกันตราบชั่วฟ้าดินสลาย
นายห้างพะโป้ 
 เป็นชายชราเจ้าของปางไม้แห่งจังหวัดกำแพงเพชร
เพิ่งแต่งงานใหม่กับ ยุพดี 
 สาวสวยทันสมัยจากในเมือง
 พะโป้พายุพดีมาอาศัยที่ปางไม้ห่างไกลผู้คน
 ณ ที่นี้เธอได้พบกับ ทิพย์
คนสนิทของนายห้าง และ ส่างหม่อง
 หลานชายหนุ่มฉกรรจ์ของพะโป้
ยุพดี ชอบเข้ามาหยอกล้อเล่นหัวกับส่างหม่อง
 ตามแบบหนุ่มสาว จนเกิดลักลอบเล่นชู้
 เพื่อให้เป็นความต้องการของยุพดีที่ว่า เราจะรักกันชั่วฟ้าดินสลาย
จนรู้กันไปทั่วทั้งที่ทิพย์ก็พยายามตักเตือนแล้ว
ในที่สุดนายห้างก็เห็นพิรุธ จับได้คาหนังคาเขาที่บังกะโลกลางป่า
พะโป้ออกปากยกยุพดีให้แก่ส่างหม่อง
 มีข้อแม้ว่า ถ้าพวกเอ็งอยากจะอยู่ด้วยกันทั้งวันทั้งคืน
อยากอยู่ด้วยกันชั่วฟ้าดินสลาย ข้าก็จักให้พวกเอ็งได้สมมาตรปรารถนา
จับทั้งคู่ล่ามโซ่คล้องแขนไว้ด้วยกันตลอดเวลา
เมื่อทั้งสองต้องมาอยู่ด้วยกันทั้งวันทั้งคืน
รักที่หวานชื่นก็ขมขื่น ยุพดีเล่นเปียโนและร้องเพลง
ชั่วฟ้าดินสลาย ให้ส่างหม่องฟังด้วยอารมณ์โรแมนติค
ถึงความรักที่ไร้สถานะ ไร้กาลเวลา
ยั่งยืนชั่วฟ้าดินสลายเหมือนอย่างในเพลง
ฝ่ายส่างหม่อง ถูกบังคับให้อยู่แต่ในบ้าน
โดยไม่ได้ออกไปทำงาน เขาก็หมดความอดทน สิ้นรัก
 เมื่อนายห้างพะโป้เสนอทางออกให้ด้วยความตาย
 เสนอให้ส่างหม่องและยุพดีใช้ลูกปืนเป็นกุญแจไข
ไปสู่อิสรภาพของทั้งสองคน ส่างหม่องก็ยอมรับทางเลือกนั้น
ส่างหม่องจึงเป็นฝ่ายปลิดชีพตัวเอง
แล้วส่างหม่องจึงให้ยุพดียิงเขา
 แต่ยุพดียิงตัวเองตายแทน
แสดงตนอย่างชัดแจ้งตั้งแต่ต้นว่าเธอรักในเสรีภาพ
ส่างหม่องอุ้มร่างยุพดีมาเพื่อรับกุญแจ
 แต่พะโป้กลับปฏิเสธ ทิพย์จึงทนไม่ไหวที่เห็นเป็นแบบนี้
 จึงเข้าไปขอกุญแจกับพะโป้ พะโป้กลับปฏิเสธเช่นกัน
 ส่างหม่องอุ้มร่างยุพดีออกไปอย่างความโศกเศร้า
ทำให้คนงานในปางไม้ของพะโบ้รวมไปถึงทิพย์รับรู้ถึงความเหี้ยมโหด
และการใช้อำนาจบาตรใหญ่ของพะโป้
 ทำให้คนงานคนหนึ่งคว้าก้อนหินขว้างไปโดนภาพเหมือนของตัวพะโบ้จนทะลุเป็นรูโต
 พะโป้ก็เริ่มสำนึกตัวเองจึงเลือกจะลงโทษตัวเองด้วยเช่นกัน
พะโป้จึงเผาบ้านและยิงตัวตายด้วยปืนกระบอกเดียว
กับที่ยุพดีใช้ฆ่าตัวตายในท่ามกลางเปลวไฟที่กำลังเผาผลาญทุกสิ่งทุกอย่าง
 ทิพย์พยายามช่วยพะโป้แต่ไม่ทันเสียแล้ว ต่อมาส่างหม่องก็เป็นคนที่เสียสติ
 เป็นคนบ้า เพ้อถึงยุพดี ตลอดมา