วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรคยางพารา

โรคราแป้ง (Powdery mildew)

สาเหตุ                 เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ      ใบอ่อนร่วง ใบที่ไม่ร่วง แผ่นใบจะมีแผลขนาดไม่แน่นอนมีปุย เชื้อราสีขาวเทาปกคลุมอยู่ ต่อมาแผลจะเป็นรอยด่าง สีเหลืองซีดและกลายเป็นสีน้ำตาล
                          ดอกยางมีปุย เชื้อราปกคลุมก่อนที่จะดำ แล้วร่วง
การแพร่ระบาด       ระบาดมากในพื้นที่ที่สภาพแวดล้อมกลางวันร้อน กลางคืนเย็นและชื้น ตอนเช้ามีหมอก พบในช่วงที่ต้นยางผลิใบใหม่

โรคใบจุดนูน (Colletotrichum leaf spot)
สาเหตุ                เกิดจากเชื้อรา  Colletotrichum  gloeosporiodes  (Penz.) Sacc.
ลักษณะอาการ 
   ใบอ่อนที่ถูกเชื้อเข้าทำลาย  ปลายใบจะบิดงอ  เหี่ยวเน่าดำและหลุดล่วง  ในระยะใบเพสลาด  ใบบางส่วนอาจบิดงอและ  พบจุดแผลสีน้ำตาล  ขอบแผลสีเหลือง 
                         ขนาดประมาณ 1-2  มม.  เมื่อใบมีอายุมากขึ้น  เนื้อตรงกลางแผลอาจทะลุเป็นรู  ถ้าระบาดรุนแรงอาจพบแผลบนกิ่งอ่อนหรือยอดอ่อน 
                         และทำให้เกิดอาการตายจากยอดได้
การแพร่ระบาด      ระบาดรุนแรงกับยางที่แตกใบอ่อน  ในช่วงที่ฝนตกชุก  ความชื้นสูง  เชื้อแพร่ระบาดโดยน้ำฝน  ลมและแมลง
พืชอาศัย             ส้ม  กล้วย  มะละกอ  ชา  กาแฟ  โกโก้  อาโวกาโด

โรคใบจุดก้างปลา (Corynespora leaf )
สาเหตุ                เกิดจากเชื้อรา  Corynespora  cassiicola (Burk. & Curt.) Wei.
ลักษณะอาการ 
   ใบอ่อนแสดงอาการเป็นแผลจุดกลม  ขอบแผลสีน้ำตาลดำ  กลางแผลสีซีดหรือเทา  ถ้ารุนแรงใบจะบิดงอและร่วง  ระยะใบ  เพสลาดแผลจะกลมทึบสีน้ำตาลหรือดำ 
                        ขอบแผลสีเหลืองและขยายลุกลามเข้าไปตามเส้นใบ  ทำให้แผลมีลักษณะคล้ายก้างปลา  เนื้อเยื่อบริเวณรอยแผลมีสีเหลืองถึงน้ำตาลและใบร่วงในที่สุด 
                        ถ้าเชื้อเข้าทำลายส่วนของก้านใบ  กิ่งแขนงและลำต้นที่ เป็นสีเขียว  จะเป็นแผลสีดำมีลักษณะยาวรี  เนื้อเยื่อตรงกลางแผลบุ๋มลง  ถ้าอากาศเหมาะสมจะขยายขนาดและ
                        ลุกลาม  ทำให้กิ่งหรือยอดที่เป็นโรคแห้งตาย

การแพร่ระบาด
     เชื้อราแพร่ระบาดโดยลมและฝน  โรคระบาดรุนแรงในสภาพอากาศร้อนและมีความชื้นสูง
พืชอาศัย
            มีมากกว่า  80  ชนิด  ยกตัวอย่างเช่น  งา  ถั่วเหลือง  ถั่วเขียว  ฝ้าย  ยาสูบ  มะละกอ  แตงโม  มะเขือเทศ  ผักกาดหอม  สะระแหน่  ฟักเขียว  หญ้ายาง 
                        และพืชคลุมตระกูลถั่ว


โรคใบจุดตานก (Bird's eye spot)
สาเหตุ                  เกิดจากเชื้อรา Drechsiera (Helminthosporium) heveae (Petch)  M.B. Ellis
ลั
กษณะอาการ 
     เชื้อเข้าทำลายระยะใบอ่อนมาก  แผลหงิกงอเน่าดำและร่วง  เหลือแต่ยอดที่บวมโต  ใบยางอายุมากจะปรากฏจุดค่อน ข้างกลม 
                          ขอบแผลสีน้ำตาลล้อมรอบซึ่งโปร่งแสง  ถ้าเชื้อเข้าทำลายระยะใบแก่จะเป็นรอยจุดสีน้ำตาลเท่านั้น

การแพร่ระบาด
       ระบาดรุนแรงในแปลงกล้ายางที่ปลูกในดินทรายหรือดินที่อุดมสมบูรณ์ต่ำ  แพร่ระบาดโดยลม  ฝนหรือการสัมผัส
โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทร่า (Phytopthora leaf fall)
สาเหตุ                เกิดจากเชื้อรา  Phytophthora  botryosa  chee, P. palmivora (Butl.) Butl., P.nicotianae  Van  Breda  de  Haan  var. parasitica(Dastur) Waterhouse
ลักษณะอาการ 
   ก้านใบเป็นรอยช้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำตามความยาวของก้านใบ  แผลบริเวณทางเข้าของเชื้อมีหยดน้ำยางเล็กๆ เกาะติดอยู่ เมื่อสะบัดใบเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันที 
                        ต่างจากการร่วงตามธรรมชาติ  ซึ่งเมื่อสะบัดใบย่อยจะไม่ร่วง  บางครั้งแผ่นใบอาจ  เป็นแผลสีน้ำตาลเข้มถึงดำ  ช้ำน้ำ  ขนาดแผลไม่แน่นอน 
                        หากเข้าทำลายฝักยางจะทำให้เน่า  อาจพบเชื้อราสีขาวเจริญปกคลุม  ฝักไม่แตกและไม่ร่วงหล่นตามธรรมชาติ  กลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อต่อไป

การแพร่ระบาด
     ระบาดรุโดยน้ำฝน  ลม  ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันฝนตก  เชื้อต้องการน้ำเพื่อการขยายพันธุ์  จึงระบาดได้ดีในสภาพอากาศเย็น  ฝนตกชุก 
                        ความชื้นสูงอย่างน้อย  4  วัน  โดยมีแสงแดดน้อยกว่า  3  ชั่วโมงต่อวัน

พืชอาศัย
            ส้ม  ทุเรียน  พริกไทย  ปาล์ม  โกโก้
โรคเส้นดำ (Black stripe)
สาเหตุ              เกิดจากเชื้อรา  Phytophthora  botryosa  chee, P. palmivora (Butl.) Butl.ลักษณะอาการ   เหนือรอยกรีดเป็นรอยช้ำ ต่อมาเป็นรอยบุ๋มสีดำหรือสีน้ำตาลดำตามแนวยาวของลำต้น  เมื่อเฉือนเปลือกบริเวณรอยบุ๋มสีดำ จะเห็นลายเส้นสีดำบนเนื้อไม้ 
                      และอาจลุกลามลงใต้รอยกรีด  ถ้าอาการรุนแรง  เปลือกบริเวณที่เป็นโรคปริเน่า  มีน้ำยางไหล  เปลือกเน่าหลุดออกมา  ถ้าเชื้อเข้าทำลายไม่รุนแรง 
                      เปลือกงอกใหม่จะเป็นปุ่มปม
การแพร่ระบาด
   เชื้อบนฝักและใบที่เป็นโรคถูกชะล้างโดยน้ำฝนลงมาที่หน้ากรีด  พบระบาดรุนแรงเมื่อกรีดยางติดต่อกันในฤดูฝนโดยไม่มี การป้องกันรักษาหน้ากรีด 
                      โดยเฉพาะเมื่อความชื้นสูงกว่า  90%  หน้ากรีดจะเปียกอยู่ตลอดเวลา  เหมาะต่อการขยายพันธุ์ของเชื้อ
พืชอาศัย
          เชื้อรา  P.palmivora  สามารถเข้าทำลายพืชอื่นได้หลายชนิด  เช่น  มะละกอ  แตงโม  ส้ม  ทุเรียน  พริกไทย  โกโก้  มะพร้าว  ยาสูบ  ส่วนเชื้อรา  P.botryosa 
                      สามารถเข้าทำลาย  ทุเรียน  ส้ม  และกล้วยไม้ได้



ใช้สารนาโนซิงค์ออกไซด์กำจัดเชื้อโรคที่เกิดจากเชื้อรา และเเบคทีเรีย
รับรองว่าของแท้ราคาทุน เพื่อเกษตรกร
ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ทุกชนิด
สนใจติดต่อ อ.กฤษณะ และอ.อรวรรณ
โทร 089-2726540    และ 087-8436036


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น