สจล.- เชื่อม “นาโน” กับ “นาข้าว” นักวิจัย สจล.พบวาอนุภาคนาโนซิงออกไซด์ช่วยพืชเจริญเติบโตได้ดี จึงหนึ่นใช้ในการเกษตร ล่าสุดชาวนาที่กำแพงเพชรมทดลองฉีดพ่นในนาข้าว ได้ผลผลิตเพิ่มถึง 20%
ทีมนักวิจัยวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) พัฒนา อนุภาคนาโนซิงออกไซด์ (ZnO) เพื่อแก้ปัญหาในการเพาะพันธุ์ข้าว โดยอนุภาคดังกล่าวช่วยการเจริญเติบโตของพืช อีกทั้งพืชที่ได้รับซิงออกไซด์นั้นจะต้านทานโรคได้ดีกว่าพืชที่ไม่ได้รับ และปริมาณผลผลิตที่ได้รับหลังการเก็บเกี่ยวได้สูงกว่าประมาณ 3-5 เท่าตัว นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติที่ช่วยในการลดปริมาณการใช้ปุ๋ยในธาตุอาหารหลัก คือ NPK ซึ่ง8าดว่าจะช่วยเพิ่มผลผลิต และคุณภาพของข้าวไทยได้
ล่าสุด มีการทดลองใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ในการปลูกข้าวแบบหว่านตม ณ หมู่บ้านข้าวนาโนเทคโนโลยีนาบ่อคำ พระจอมเกล้าลาดกระบัง ต.นาบ่อคำ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ซึ่ง รศ.ดร. จิติ หนูแก้ว คณบดีวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง กล่าวว่า เมื่อปี 2554 วิทยาลัยฯ ได้จัดอบรมความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยีสู่ท้องถิ่น โดยเริ่มสอนตั้งแต่การให้ความรู้ไปจนถึงวิธีการเพาะปลูกพืชผลทางเกษตรกรรมอย่างมีคุณภาพ ซึ่งชุมชนนาบ่อคำได้แสดงความพร้อมและศักยภาพในการเพาะปลูกมันสำปะหลังด้วยนาโนเทคโนโลยี
มาถึงปี 2555 ทางวิทยาลัยฯ จึงได้สนับสนุนให้ชุมชนนาบ่อคำ เป็นชุมชนต้นแบบด้านนาโนเทคโนโลยีสำหรับการเพาะปลูกข้าว เนื่องจากข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศและกำลังประสบปัญหาการแข่งขันในตลาดอย่างรุนแรง จึงเป็นที่มาของหมู่บ้านข้าวนาโนเทคโนโลยีนาบ่อคำ พระจอมเกล้าลาดกระบัง
"ที่ผ่านมานั้นชุมชนในตำบลนาบ่อคำเพาะปลูกข้าวเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการปลูกกับผลผลิตที่ควรจะได้นั้น พบว่ายังเป็นตัวเลขที่ต่ำมาก โดยเกณฑ์ที่ควรจะได้ผลผลิตนั้น อยู่ที่ประมาณ 650-774 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ในความเป็นจริง ได้ผลผลิตเพียง 400 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากการปลูกที่ขาดประสิทธิภาพ อย่างการเพาะกล้า การเติบโตไม่สม่ำเสมอ การใช้ปุ๋ยเคมีที่มีต้นทุนสูง ซึ่งหลายพื้นที่ในไทยก็เกิดปัญหาเช่นเดียวกันนี้ ซึ่งการใช้อนุภาคนาโนซิงออกไซด์มาช่วยจะลดปัญหาเหล่านี้ได้" รศ.ดร.จิติกล่าว
รศ.ดร. จิติ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากทีมนักวิจัยค้นพบประสิทธิภาพของอนุภาคนาโนซิงออกไซด์ที่มีต่อพืช จึงได้นำมาใช้เพาะปลูกข้าว ที่หมู่บ้านข้าวนาโนเทคโนโลยีนาบ่อคำ โดยเริ่มจากการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ต้องการนำไปหว่านในนา นำไปแช่ด้วยนาโนซิงค์ออกไซด์ผสมน้ำเป็นเวลา 1 วัน แล้วนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผ่านการแช่น้ำนาโนฯไปหว่านลงในแปลง เมื่อลองวัดการเจริญเติบโตทุกๆ 7 วัน พบว่า มีอัตราการงอกคิดเป็น 93% และพบว่าเมื่อหว่านจนครบ 6 สัปดาห์ ต้นข้าวที่แช่ด้วยอนุภาคนาโนซิงออกไซด์สูง 85.17 เซนติเมตร ซึ่งสูงกว่าข้าวที่ไม่ได้แช่เกือบ 10 เซนติเมตร และข้าวแช่อนุภาคนาโนซิงออกไซด์ให้ผลผลิตสูงถึง 660 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าเดิมที่ให้ผลผลิตเพียง 548 กิโลกรัมต่อไร่
"ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ สามารถเพิ่มผลผลิตของข้าวได้มากถึง 20 เปอร์เซ็นต์ สอดคล้องกับปริมาณความต้องการได้ โดยหลังจากที่มีการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของอนุภาคนาโนซิงออกไซด์ที่มีต่อการปลูกข้าว จึงทำให้มีพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการการเผยแพร่องค์ความรู้ของการนำนาโนซิงค์ออกไซด์มาใช้ในการปลูกข้าวแบบหว่านตมกับวิทยาลัยนาโนฯ มากกว่า 100 พื้นที่ในปัจจุบัน" รศ.ดร.จิติกล่าว
สจล.- เชื่อม “นาโน” กับ “นาข้าว” นักวิจัย สจล.พบวาอนุภาคนาโนซิงออกไซด์ช่วยพืชเจริญเติบโตได้ดี จึงหนุนการใช้ในการเกษตร ล่าสุดชาวนาที่กำแพงเพชรมทดลองฉีดพ่นในนาข้าว ได้ผลผลิตเพิ่มถึง 20%
ทีมนักวิจัยวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) พัฒนา อนุภาคนาโนซิงออกไซด์ (ZnO) เพื่อแก้ปัญหาในการเพาะพันธุ์ข้าว โดยอนุภาคดังกล่าวช่วยการเจริญเติบโตของพืช อีกทั้งพืชที่ได้รับซิงออกไซด์นั้นจะต้านทานโรคได้ดีกว่าพืชที่ไม่ได้รับ และปริมาณผลผลิตที่ได้รับหลังการเก็บเกี่ยวได้สูงกว่าประมาณ 3-5 เท่าตัว นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติที่ช่วยในการลดปริมาณการใช้ปุ๋ยในธาตุอาหารหลัก คือ NPK ซึ่ง8าดว่าจะช่วยเพิ่มผลผลิต และคุณภาพของข้าวไทยได้
ล่าสุด มีการทดลองใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ในการปลูกข้าวแบบหว่านตม ณ หมู่บ้านข้าวนาโนเทคโนโลยีนาบ่อคำ พระจอมเกล้าลาดกระบัง ต.นาบ่อคำ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ซึ่ง รศ.ดร. จิติ หนูแก้ว คณบดีวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง กล่าวว่า เมื่อปี 2554 วิทยาลัยฯ ได้จัดอบรมความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยีสู่ท้องถิ่น โดยเริ่มสอนตั้งแต่การให้ความรู้ไปจนถึงวิธีการเพาะปลูกพืชผลทางเกษตรกรรมอย่างมีคุณภาพ ซึ่งชุมชนนาบ่อคำได้แสดงความพร้อมและศักยภาพในการเพาะปลูกมันสำปะหลังด้วยนาโนเทคโนโลยี
มาถึงปี 2555 ทางวิทยาลัยฯ จึงได้สนับสนุนให้ชุมชนนาบ่อคำ เป็นชุมชนต้นแบบด้านนาโนเทคโนโลยีสำหรับการเพาะปลูกข้าว เนื่องจากข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศและกำลังประสบปัญหาการแข่งขันในตลาดอย่างรุนแรง จึงเป็นที่มาของหมู่บ้านข้าวนาโนเทคโนโลยีนาบ่อคำ พระจอมเกล้าลาดกระบัง
"ที่ผ่านมานั้นชุมชนในตำบลนาบ่อคำเพาะปลูกข้าวเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการปลูกกับผลผลิตที่ควรจะได้นั้น พบว่ายังเป็นตัวเลขที่ต่ำมาก โดยเกณฑ์ที่ควรจะได้ผลผลิตนั้น อยู่ที่ประมาณ 650-774 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ในความเป็นจริง ได้ผลผลิตเพียง 400 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากการปลูกที่ขาดประสิทธิภาพ อย่างการเพาะกล้า การเติบโตไม่สม่ำเสมอ การใช้ปุ๋ยเคมีที่มีต้นทุนสูง ซึ่งหลายพื้นที่ในไทยก็เกิดปัญหาเช่นเดียวกันนี้ ซึ่งการใช้อนุภาคนาโนซิงออกไซด์มาช่วยจะลดปัญหาเหล่านี้ได้" รศ.ดร.จิติกล่าว
รศ.ดร. จิติ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากทีมนักวิจัยค้นพบประสิทธิภาพของอนุภาคนาโนซิงออกไซด์ที่มีต่อพืช จึงได้นำมาใช้เพาะปลูกข้าว ที่หมู่บ้านข้าวนาโนเทคโนโลยีนาบ่อคำ โดยเริ่มจากการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ต้องการนำไปหว่านในนา นำไปแช่ด้วยนาโนซิงค์ออกไซด์ผสมน้ำเป็นเวลา 1 วัน แล้วนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผ่านการแช่น้ำนาโนฯไปหว่านลงในแปลง เมื่อลองวัดการเจริญเติบโตทุกๆ 7 วัน พบว่า มีอัตราการงอกคิดเป็น 93% และพบว่าเมื่อหว่านจนครบ 6 สัปดาห์ ต้นข้าวที่แช่ด้วยอนุภาคนาโนซิงออกไซด์สูง 85.17 เซนติเมตร ซึ่งสูงกว่าข้าวที่ไม่ได้แช่เกือบ 10 เซนติเมตร และข้าวแช่อนุภาคนาโนซิงออกไซด์ให้ผลผลิตสูงถึง 660 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าเดิมที่ให้ผลผลิตเพียง 548 กิโลกรัมต่อไร่
สนใจติดต่อ อ.กฤษณะ และอ.อรวรรณ หัวหน้าโครงการวิจัย
โทร 089-2726540 และ 087-8436036
เรียนผู้ใช้ทุกท่าน
ตอบลบเนื่องจากขณะนี้กำลังมีผู้ทำตามงานวิจัยของโครงการโดยการลอกเรียนแบบ
โครงการวิจัยจึงได้ดำเนินการจดสิทธิบัตร ลงขึ้นทะเบียน เพื่อไม่ให้มีการเลียนแบบ
ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพ โครงการจึงขอปรับราคาขายปลีก เป็นขวดละ 180 บาท
จากเดิม 150 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2555 เป็นต้นไป
เพื่อนำผลต่างไปเป็นค่าจดสิทธิบัตร และคุ้มครองสิทธ์ เพื่อไม่ให้ผู้ใดนำไปใช้ในการค้า
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะกรุณาในครั้งนี้ หากมีข้อสงสัยประการใด
ติดต่อ โครงการวิจัย อ.กฤษณะ และอ.อรวรรณ หัวหน้าโครงการวิจัย
โทร 089-2726540 และ 087-8436036
และขอแจ้งให้ทราบว่าของแท้ ต้องสั่งจากโครงการเท่านั้น ไม่มีเร่ขาย
และยังไม่มีวางจำหน่าย